วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

การตรวจย้อมเชื้อทนกรด

ควรทำใน Hood และในถาดที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันเสมหะกระเด็นหกลงพื้นโต๊ะ
1.เขียน LSN บนสไลด์
2.เปิดฝาตลับใส่เสมหะ ใช้ไม้เขี่ยเสมหะส่วนที่เป็นก้อนเมือกเหนียวสีขุ่น ให้ติดปลายไม้ขึ้นมา ป้ายลงตรงแผ่นกระจกสไลด์ เขี่ยละเลงให้เป็นรูปก้นหอยเล็กๆ ให้กระจายเป็นแผ่นบางๆอย่างสม่ำเสมอ ขนาดประมาณ 2 x 3 ซม. แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
3.จับแผ่นกระจกสไลด์ ให้ด้านที่ป้ายเสมหะอยู่บน ลนผ่านเปลวไฟ 3 ครั้ง เพื่อตรึงให้เสมหะติดแน่นกับแผ่นกระจกสไลด์ เวลาย้อมสีจะได้ไม่หลุด
4.นำตลับเสมหะและไม้เขี่ยเสมหะไปทำลายเชื้อ โดยการเผาไฟหรือต้มในน้ำเดือดนาน 10 นาที หรือนึ่งฆ่าเชื้อภายใต้ความดัน หรือแช่ในแอลกอฮอล์ 70 % นาน 15 นาที และทิ้งในถุงแดงเพื่อส่งไปทำลายเชื้อ

ย้อมสีวิธี Ziehl-Neelsen staining

1.วางแผ่นกระจกสไลด์บนที่ย้อมสี เทสี carbol fuchsin ให้ท่วมทั้งสไลด์
2.ลนไฟใต้กระจกจนกระทั่งสังเกตเห็นมีไอเกิดขึ้นบนแผ่นกระจก (ระวังอย่าให้เดือด) ทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 5 นาที
3.ล้างด้วยน้ำสะอาด
4.เท 3 % acid alcohol บนแผ่นกระจกสไลด์จนกระทั่งสีแดงของ carbol fuchsin หลุดออกหมด
5.ล้างด้วยน้ำสะอาด
6.ย้อมทับด้วยน้ำยา methylene blue นาน 10-30 วินาที
7.ล้างด้วยน้ำสะอาด ผึ่งให้แห้ง
8.นำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ กำลังขยาย X 100 จะเห็นตัวเชื้อติดสีแดงบนพื้นสีน้ำเงิน



วิธีการอ่านผล

จำนวนเชื้อที่ตรวจพบ
0 AFB/ 100 วงกล้อง การรายงานผล Negative Grading 0 จำนวนวงกล้องที่ต้องตรวจอย่างน้อย 200
1-9 AFB/ 100 วงกล้อง การรายงานผล Scanty Grading Scanty (จำนวนAFBที่นับได้)จำนวนวงกล้องที่ต้องตรวจอย่างน้อย 100
10-99 AFB/ 100 วงกล้องการรายงานผล Positive Grading 1+ จำนวนวงกล้องที่ต้องตรวจอย่างน้อย 100
1-10 AFB/ 1 วงกล้องการรายงานผล Positive Grading2+ จำนวนวงกล้องที่ต้องตรวจอย่างน้อย 50
> 10 AFB/ 1 วงกล้อง การรายงานผล Positive Grading 3+ จำนวนวงกล้องที่ต้องตรวจอย่างน้อย 20

เก็บส่งตรวจ

เขียนชื่อ นามสกุลคนไข้ วันที่เก็บเสมหะ spot sputum หรือ collection sputum และชื่อศูนย์ฯ ติดบนด้านข้างของตลับใส่เสมหะ
กรณีผู้ป่วยวินิจฉัย ให้เก็บเสมหะ 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ให้ผู้ป่วยขากเสมหะทันทีเมื่อมาพบแพทย์ (Spot sputum) นำตลับเก็บเสมหะ 2 ตลับ กลับไปบ้าน
ครั้งที่ 2 เก็บเสมหะในตอนเช้าเมื่อตื่นนอน ( Collection sputum) ในวันรุ่งขึ้น
ครั้งที่ 3 เก็บเสมหะในตอนเช้าเมื่อตื่นนอน ในวันถัดไป ( Collection sputum)
กรณีผู้ป่วยติดตามให้เก็บเสมหะ 2 ครั้ง แบบ Collection sputum
หรือเก็บ Spot sputum 1ครั้ง และ Collection sputum 1 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น