รณรงค์วันวัณโรคโลก 24 มีนาคม 255"วัณโรค"... ภัยร้ายทางอากาศ!!!
คำขวัญวันวัณโรคโลก 2010
“เร่งรัด สร้างสรรค์ ร่วมใจ ขจัดภัยวัณโรค”
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 24 มีนาคมของทุกปีเป็นวันวัณโรคโลก มาตั้งแต่พ.ศ. 2525 ซึ่งครบรอบร้อยปีที่ นายแพทย์โรเบิร์ต คอก (Robert Koch) พบเชื้อต้นเหตุที่ก่อให้เกิดวัณโรค ปัจจุบันวัณโรคยังคงระบาดทั่วโลก มีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ 2 พันล้านคนทั่วโลก หรือเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งโลก (มีการประเมินว่าประชากรโลกในเดือนมีนาคม 2552 คือ 6.76 พันล้านคน) เป็นผู้ป่วยที่แสดงอาการราว 16-20 ล้านคน ทุกปีทั่วโลกจะมีผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อกว่า 8 ล้าน 4 แสนคน ร้อยละ 95 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และมีผู้ป่วยเสียชีวิตปีละประมาณ 3 ล้านคน องค์การอนามัยโลกจัดอันดับให้ไทยติดอันดับที่ 17 ในกลุ่ม 22ประเทศทั่วโลกที่ยังไม่สามารถควบคุมวัณโรคได้
“หลายคนอาจมองเป็นโรคไกลตัว แท้จริงแล้วใกล้ตัวกว่าที่คิดกลุ่มเสี่ยงคือเด็ก ทำให้เกิดวัณโรคที่เยื่อหุ้มสมองส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองช้าหรืออาจเสียชีวิต และยังเสี่ยงเป็นวัณโรคกระดูก ตลอดจนที่ต่อมน้ำเหลือง ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นวัณโรคที่ปอด”
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นพาหะนำโรค เติบโตได้ดีในห้องแอร์ที่อับชื้นไม่มีแสงแดดเข้าถึงและที่ชุมชนผู้คนแออัด มีการวิจัยพบว่า เมื่อผู้ป่วยนั่งรถประจำทางปรับอากาศแล้วไอสามารถแพร่กระจายเชื้อไปได้ไกลถึง 5 คนที่นั่งข้างหน้าและด้านหลัง ขณะเดียวกันคนไข้ 1คน สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 10 - 16 คนต่อปีสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือ เชื้อวัณโรคฟักตัวในร่างกายเมื่อแรกเริ่ม 3 - 6 เดือน หากผู้ที่ได้รับเชื้อภูมิต้านทานแข็งแรงจะไม่เป็นอะไร แต่เชื้อร้ายยังคงตกค้างอยู่ในร่างกายนาน 2 ปี โดยหากเมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอแบคทีเรียจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
“กลุ่มคนน่าเป็นห่วงอีกกลุ่มหนึ่ง คือ พวกที่ทำอาชีพอยู่ในที่แออัดและต้องพบเจอคนมากเช่น พนักงานโรงภาพยนตร์ พนักงานเก็บเงินและคนขับรถเมล์ปรับอากาศ พนักงานห้าง พนักงานโรงแรม ซึ่งนายจ้าง เองต้องมีมาตรการดูแลคนเหล่านี้ด้วย”นับวันพัฒนาการของเชื้อโรคยิ่งทวีความรุนแรง ติดต่อง่าย หายยาก สิ้นเปลืองเงิน และส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาอีกมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรตระหนักและเข้าใจถึงการดูแลสุขภาพตนเอง และการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น หากท่านเป็นหวัดควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง หรือปิดปากทุกครั้งที่ไอ จาม มีความรู้และแนะนำให้ผู้มีอาการน่าสงสัยไปรับการตรวจรักษาหาเชื้อวัณโรคและนำผู้สัมผัสโรคผู้ร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค ไปรับการตรวจ ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เน้นการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยการกำกับการกินยาและให้กำลังใจผู้ป่วยให้รับการรักษาต่อเนื่องจนหายขาด โดยใช้เวลาในการกินยาเพียง 6-8 เดือน เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยาและตัดวงจรการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
อาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค คือ อาการไอเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์หรือไอมีเลือดออก อ่อนเพลีย เบื่ออาหารน้ำหนักลด อาจมีไข้ต่ำ ๆ เจ็บหน้าอก เมื่อมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและควรนำบุคคลอื่น ๆ ที่มีอาการดังกล่าวไปรับการตรวจด้วย ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การสำส่อนทางเพศ เพราะจะทำให้ติดเชื้อเอดส์และมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคง่ายขึ้นเราเองต้องหันมาออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์กันมากขึ้น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด และ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย” เพราะอย่างน้อยก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายนี้ได้
ระหว่างวันที่ 22 – 26 มีนาคม 2553เป็นสัปดาห์รณรงค์วันวัณโรคโลก ศูนย์สาธิตวัณโรคปอด สำ นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ขอเชิญทุกท่านชมนิทรรศการ รับของรางวัล ฟรี !!หากท่านหรือผู้ที่ท่านรักมีอาการไอเกิน 3สัปดาห์ หรือเป็นผู้ที่คลุกคลีกับผู้ป่วยวัณโรค เชิญ ตรวจเสมหะและเอกซเรย์ปอดได้ฟรี!!! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น