วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เผยสถานการณ์วัณโรคในไทยทรุดหนัก

เผยสถานการณ์วัณโรคในไทยทรุดหนัก พบแรงงานพม่าติดเชื้อ 2 รายยังไม่มียารักษา

สธ.รณรงค์ให้คนไทยใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโรคทางเดินหายใจ เผยสถานการณ์วัณโรคในไทยทรุดหนัก หลังพบแรงงานอพยพชาวพม่าในไทย ติดเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยารุนแรง 2 ราย ที่ไม่มียารักษา ถูกกักตัวไว้ในค่ายผู้ลี้ภัยที่แม่สอด แล้ว 1 ราย ส่วนอีกรายยังหาตัวไม่เจอ ขณะที่กองทุนวิจัยวัณโรคดื้อยาค้านเผยมีคนไทย 13 ราย เป็นวัณโรคชนิดรุนแรง ประสาน สธ.ตรวจยืนยันผล ด้าน สปสช.ทุ่ม 295 ล้าน ป้องกันรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

วันนี้ (13 มิ.ย.) นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา ศิริราชมูลนิธิในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ร่วมแถลงข่าว “โครงการรณรงค์การใช้หน้ากากอนามัยในโรงพยาบาล” ป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจประจำปี 2550 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในโอกาสมหามงคลเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา

นพ.มงคล กล่าวว่า โรคทางเดินหายใจที่เป็นปัญหาหลักๆ ในประเทศไทยที่สำคัญ และพบได้ตลอดปี มี 4 โรคสำคัญ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค และปอดบวม โดยแต่ละปีมีคนไทยป่วยด้วยโรคเหล่านี้กว่า 20 ล้านคน สาเหตุที่พบโรคนี้มาก เนื่องจากเชื้อโรคจะอยู่ในน้ำมูกน้ำลาย โดยการไอ จามแต่ละครั้งจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปได้ 3 ฟุต และมีชีวิตลอยปะปนอยู่ในอากาศได้เป็นวันหรือหลายวันแล้วแต่ชนิดเชื้อโรคและสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดี มีภูมิต้านทานอ่อนแอติดเชื้อและป่วยได้ แต่หากผู้ที่กำลังป่วย คาดหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคลงได้ถึงร้อยละ 80

“การคาดหน้ากากอนามัยเป็นส่วนที่จะช่วยไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาดไปสู่คนรอบข้าง ซึ่งการใช้หน้ากากเป็นวัฒนธรรมของผู้ที่มีอนามัย ไม่ใช่คนที่กลัวการติดเชื้อจึงใส่ ส่วนคนป่วยไม่ใส่ ซึ่งการที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงหน้ากากอนามัยจะมีการประสานกับกรมควบคุมโรค ให้ขายหน้ากากอนามัยในร้านขายยาและให้มีราคาถูก ซึ่งต้นทุนไม่ถึง 1 บาท ดังนั้นสามารถขายได้โดยที่ไม่ได้เอากำไรมากนัก สำหนับในการจัดโครงการสัปดาห์รณรงค์การใช้หน้ากากอนามัยทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจะสนับสนุนหน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งให้ 1 ล้านชิ้น” นพ.มงคล กล่าว

นพ.มงคล กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคติดต่อทางเดินหายใจในปี 2549 พบผู้ป่วยไข้หวัดทั่วไปประมาณ 20 ล้านคน วัณโรคปอด 28,153 ราย เสียชีวิต 183 ราย ไข้หวัดใหญ่ 17,424 ราย เสียชีวิต 1 ราย ปอดบวมซึ่งระบาดมากในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่มากถึง 145,290 ราย เสียชีวิต 874 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและเด็ก สำหรับในปี 2550 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงวันนี้ พบผู้ป่วยวัณโรคปอด 9,523 ราย เสียชีวิต 55 ราย ไข้หวัดใหญ่ 6,153 ราย เสียชีวิต 4 ราย และปอดบวม 51,497 ราย เสียชีวิต 388 ราย

ด้าน นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีสำนักข่าวต่างประเทศรายงานข่าวว่า องค์กรหมอไร้พรมแดน รายงานการพบเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาชนิดรุนแรง หรือ XDR (X-tream Drugs Resistance Tubucolosis) ในชาวพม่า 2 ราย ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ว่า จากการติดตามข้อมูลทราบว่า ขณะนี้สามารถกักตัวผู้ป่วยรายหนึ่งไว้ได้แล้ว เป็นผู้อพยพชาวพม่า ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ส่วนอีกรายเป็นแรงงานอพยพ ขณะนี้ยังหาตัวไม่พบ สำหรับเชื้อวัณโรค XDR เป็นเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาชนิดรุนแรง คือ ไม่มียาขนานใดในโลกสามารถรักษาได้ โดยในปีที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกรายงานการพบเชื้อชนิดนี้ในประเทศไทยจำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นชาวพม่าทั้งหมดแต่ยังไม่พบคนไทยป่วยด้วยวัณโรคชนิดนี้แต่อย่างใด

นพ.ธวัช กล่าวว่า สถานการณ์วัณโรคทั่วโลกขณะนี้ มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 14.6 ล้านคน 90% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ 8.8 ล้านคน ในจำนวนนี้ 3.9 ล้านคนอยู่ในระยะแพร่เชื้อ โดยมีผู้ป่วยวัณโรคทั่วโลกเสียชีวิตปีละ 1.7 ล้านคน 98% อยู่ในประเทศยากจน สำหรับประเทศไทยจากรายงานมีผู้ป่วยวัณโรคทั้งสิ้น 58,000 ราย ในจำนวนนี้อยู่ในระยะแพร่เชื้อ 30,000 ราย อย่างไรก็ตาม ประมาณว่า มีผู้ป่วยวัณโรคจริงที่ไม่ได้อยู่ในระบบรายงานทั้งประเทศประมาณ 91,000 ราย ในจำนวนนี้ 40,000 รายอยู่ในระยะแพร่เชื้อ และไทยเป็นประเทศลำดับที่ 17 จาก 22 ประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคสูงสุด โดยอันดับ 1ได้แก่ อินเดีย รองลงมาคือ จีน และ อินโดนีเซีย ส่วนรายงานการติดเชื้อวัณโรคดื้อยา มีรายงานการดื้อยาขนานเดียว 14.6 % ดื้อยาหลายขนานหรือ MDR (Multi Drugs Resistance Tubucolosis) 0.93% ส่วน XDR ยังไม่มีรายงานในคนไทย แต่ทั่วโลกมีรายงานการติดเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาแบบสุดๆ หรือ XDR จำนวน 269 รายจาก 35 ประเทศ ซึ่งเชื้อวัณโรคชนิดนี้ โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตมีสูงถึง 85%

“ในสหรัฐอเมริกามีรายงานว่า พบผู้ป่วยวัณโรคชนิด XDR จำนวน 11 ราย รายล่าสุดกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก เพราะศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐฯ หรือ CDC ต้องตามล่าหาตัวข้ามทวีป เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้ เดินทางไปยังประเทศต่างๆ หลายประเทศในยุโรป ทั้ง ปารีส เอเธนส์ โรม แล้ววกกลับมาที่แคนาดา ก่อนจะเข้าอเมริกาโดยทางรถยนต์ ซึ่งขณะนี้ กักตัวได้แล้ว รักษาตัวอยู่ที่ศูนย์ควบคุมวัณโรคที่เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา” นพ.ธวัช กล่าว

นพ.ธวัช กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับรายงานข่าวที่เกิดขึ้น เพราะประเทศไทยเรามีมาตรการในการควบคุมวัณโรคที่เข้มแข็ง มีการผสมผสานการดูแลผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ หลังพบว่า ผู้ป่วยเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคประมาณ 30% นอกจากนี้ยังมีการสร้างระบบควบคุมภาวะดื้อยาทั้งดื้อยาหลายขนาน(MDR)และ ดื้อยารุนแรงหรือ XDR รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการวิจัยและพัฒนาวัณโรคแบบครบวงจร อย่างไรก็ตามในอนาคตหากมีการระบาดของโรคทางเดินหายใจอาจต้องใช้มาตรการบังคับให้มีการใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

ด้านนพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา ศิริราชมูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า ความจริงแล้วเชื้อวัณโรคชนิด XDR ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเชื้อที่พบมานานแล้วในหลายประเทศทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น สวีเดน รวมทั้งในประเทศไทย ทางศูนย์วิจัยวัณโรคดื้อยาได้รับเชื้อวัณโรคดื้อยามาทำการตรวจวิเคราะห์ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จำนวน 15,000 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้พบเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานหรือ MDR จำนวน 500 ตัวอย่างและวัณโรคชนิดรุนแรง XDR จำนวน 13 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้เป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าคนไทยที่เป็นวัณโรคปีละ 80,000 ราย จะพบอีกกี่คนไม่ทราบได้ ดังนั้น หากระบุว่าประเทศไทยไม่มีผู้ติดเชื้อกลุ่ม XDR จึงเป็นไปไม่ได้ โดยจะประสานกับกรมควบคุม นำเชื้อไปตรวจรายงานผลอย่างเป็นทางการต่อไป

“ที่น่าเป็นห่วง คือ ขณะนี้วัณโรค และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ เป็นโรคของคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ ติดต่อกันได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานที่ที่ติดเครื่องปรับอากาศ เช่น รถโดยสาร เครื่องบิน ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงแรม รวมทั้งโรงพยาบาล และหากมีการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคที่ดื้อยา ซึ่งมีโอกาสรักษาให้หายขาดน้อยมาก ในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็กเล็ก เด็กขาดสารอาหาร ผู้ป่วยเบาหวาน มะเร็ง โรคตับ หรือไตวาย ผู้ป่วยเอดส์ อาจเสียชีวิตได้” นพ.มนูญกล่าว

นพ.มนูญ กล่าวด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา ศิริราชมูลนิธิในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ จัดโครงการสัปดาห์รณรงค์การใช้หน้ากากอนามัยทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พร้อมกันทุกจังหวัด ระหว่างวันที่ 23 – 29 มิ.ย. 2550 โดยในวันเสาร์ที่ 23 มิ.ย. 2550 จัดที่ทำเนียบรัฐบาล โดยคู่สมรสคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและบุคลากรในโรงพยาบาลใช้หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ

ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เปิดเผยภายหลังลงนามบันทึกความร่วมมือ การบริหารจัดการวัณโรคอย่างครบวงจรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง สปสช. กับกรมควบคุมโรค ว่า จำนวนผู้ป่วยวัณโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2550 มีจำนวน 60,000 ราย การลงนามครั้งนี้ เพื่อการบริหารจัดการโรคอย่างครบวงจร ตามแนวทางการบริหารจัดการโรคเฉพาะ เพื่อรักษาผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อให้สำเร็จ เพิ่มความครอบคลุมและเร่งการค้นหาผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อ ซึ่ง สปสช.สนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรวมทั้งสิ้น 295 ล้านบาท แบ่งเป็นการสนับสนุนในรูปตัวยา 181 ล้านบาท และสนับสนุนในรูปตัวเงิน 114 ล้านบาท

รองเลขาธิการสปสช.กล่าวว่า การค้นหาผู้ป่วยในระยะแรกจะช่วยลดอัตราการป่วยได้ ซึ่งการรักษาแบบการมีพี่เลี้ยงดูการกินยาอย่างต่อเนื่องตลอด 6 เดือนหรือ DOT โดยเฉลี่ยจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 4,000-50,000 บาท ต่อการรักษา 1 ครั้งถือเป็นแนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยรายโรค โดยให้ผู้ป่วยลงทะเบียนและติดตามการรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องจนครบ รวมถึงการเร่งพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการแนวทางการดำเนินงานยึดการรักษาตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก


แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตรวจวัณโรควิธีใหม่ ได้ผลดีกว่าเดิม

การตรวจวัณโรคในเลือดได้ผลดีกว่าการตรวจแบบเดิมมากกว่าเท่าตัว ใช้ตรวจหาผู้เป็นพาหะได้แม่นยำขึ้น

แพทย์สามารถใช้เทคนิคนี้ตรวจเลือดผู้ที่กำลังจะเป็นวัณโรคได้ ส่วนวิธีตรวจแบบเดิมกระทำโดยการฉีดชิ้นส่วนเชื้อวัณโรคบางส่วนเข้าไปในร่างกาย หากผู้ได้รับการตรวจมีเชื้อวัณโรคอยู่ ผิวหนังจะปรากฏลักษณะบวมขึ้น
การตรวจแบบดั้งเดิมนี้คือการตรวจผิวหนัง มีแนวโน้มผิดพลาดได้ง่ายทำให้ผู้ตรวจพบต้องเข้ารับการรักษาโดยไม่จำเป็น ในทางกลับกันอาจตรวจไม่พบผู้เป็นพาหะทำให้เกิดการพัฒนาของเชื้อต่อไป
ศาสตราจารย์ อจิท ลาลวานี นักวิจัยจากอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน อธิบายว่า การตรวจเลือดแบบใหม่นี้ ใช้หลักการ enzyme-linked immunospot หรือ ELISpot สามารถตรวจพบผู้เป็นพาหะได้ดีกว่าวิธีเดิมเป็นเท่าตัวหรือเท่าตัวครึ่ง
ELISpot ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการตรวจหาสารที่เซลล์ชนิดหนึ่งหนึ่งหลั่งออกมา (cytokine) หรืออาจเป็นแอนติเจน (antigen) ก็ได้ หลักการคือเคลือบแอนติบอดี (monoclonal antibody) ชนิดที่จำเพาะต่อ cytokine ที่ต้องการตรวจลงไปบนภาชนะขนาดเล็ก (microplate) ก่อน ในภาพล่างสุดจะเห็นลักษณะภาชนะที่ใช้เป็นถาดที่มีหลุมเล็ก ๆ อยู่ครับ แต่ละหลุมคือตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยแต่ละราย หลังจากนั้นใส่เซลล์ที่ถูกกระตุ้นลงไปในที่นี้เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง ทิ้งไว้สักพักให้แอนติบอดีที่เคลือบไว้บนผิวภาชนะจับกับแอนติเจนหรือสารเคมีที่เซลล์หลั่งออกมา เสร็จแล้วล้างเซลล์และสารที่ไม่เกิดการจับกันออกไป หลังจากนั้นใส่เอนไซม์ที่จะไปจับเฉพาะ แอนติบอดีที่มีแอนติเจนอยู่ แล้วใส่สารตั้งต้นของเอนไซม์ลงไป เมื่อทำปฏิกิริยากันจะปรากฏสีให้เราเห็นครับ แสดงว่าช่องที่เกิดสีเป็นเลือดของคนที่ติดวัณโรคนั่นเอง


ลาลวานี ผู้เผยแพร่งานวิจัยชิ้นนี้ในวารสารการแพทย์แห่งชาติประจำปี กล่าวว่า หากลองพิจารณาจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเมื่อตรวจด้วยวิธีใหม่จะพบว่าแตกต่างจากจำนวนที่ตรวจพบด้วยวิธีเก่าอย่างสิ้นเชิง

ลงมือศึกษา

ลาลวานีและคณะได้ทำการสำรวจเด็กสุขภาพดีในตุรกีจำนวน 908 คน ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคในท้องถิ่น

ผลตรวจผิวหนังพบว่าเด็กจำนวน 580 คน ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงและต้องเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันการพัฒนาเป็นระยะก่อโรค แต่เมื่อตรวจเลือดพบผู้เป็นระยะแฝงเพียง 380 คนเท่านั้น
หลังจากเข้ารับการรักษา พบว่าเด็กจำนวน 12 คนพัฒนาเป็นระยะก่อโรคโดยในจำนวนนี้ได้รับการตรวจโดยวิธีตรวจเลือด 11 คน
ลาลวานี กล่าวว่า ผลตรวจเลือดทำให้แพทย์รักษาเด็กเพียงแค่ 380 คน แทนที่จะต้องรักษาถึง 550 คน การตรวจเลือดนี้ ช่วยให้แพทย์รักษาเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจริง ๆ เท่านั้น
คาดว่าในอนาคตจะมีการพัฒนาวิธีตรวจเลือดให้แม่นยำมากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในประเทศที่กำลังพัฒนาครับ


ที่มา: http://www.abc.net.au/science/articles/2008/10/21/2396818.htm?site=science&topic=latest

อ้างอิง: http://www.protocol-online.org/prot/Protocols/ELISPOT-3702.html
http://www.unisys-th.com/attachments/Image/TB.bmp

อบรมหนังสั้นวัณโรค



มูลนิธิรักษ์ไทย จัดงานอบรมนักศึกษาที่เข้าร่วมประกวดหนังสั้นวัณโรค Short Film Competition Project 2 หัวข้อ “เร่งรัด สร้างสรรค์ ร่วมใจ หยุดยั้งภัยวัณโรค” ณ SCG Experience โดยมีวิทยากร คือ แพทย์หญิงดารณี วิริยะกิจจา ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาให้ข้อมูลด้านวัณโรค พร้อมกับ คุณภาคภูมิ วงศ์ภูมิ ผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์ เรื่อง ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ, แฝด, สี่แพร่ง, ห้าแพร่ง มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับหนังสั้น

สำหรับงานนี้มีนักศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 61 ทีม จาก 24 สถาบันทั่วประเทศ โดยหลังจากการอบรมแล้ว ทุกทีมจะต้องส่งบทหนังสั้นภายในวันที่ 6 สิงหาคม 2553 เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 10 เรื่อง จาก 10 ทีม และลงพื้นที่ถ่ายทำหนังสั้นต่อไป

ชมภาพกิจกรรมที่นี่

จุดอ่อนของ การรักษาวัณโรคในปัจจุบัน

จุดอ่อนของ การรักษาวัณโรคในปัจจุบัน

1.ผ้ปู่วยมีการอพยพ เคลื่อนย้ายมาก
2.ผ้ปู่วยมีโอกาส เลือกสถานบริการได้อย่างเสรี
3.เจ้าหน้าที่และแพทย์ผ้รูับผิดชอบ มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย
4.ใช้ระบบยาหลากหลาย
5.ขาดระบบการเตือน การติดตามผ้ปู่วย เมื่อขาดยา
6.ขาดการเยี่ยมบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ

คำต่างๆที่เกี่ยวกับงานควบคุมวัณโรค

ผู้ป่วยใหม่ (New)
ผูู้ป่วยทีไม่เคยรักษาวัณโรคมาก่อน หรือเคยรักษาไม่เกิน 1 เดือน

กลับเป็นซ้ำ(Relapse)
เคยเป็น รักษาหาย กลับเป็นซํ้า และ ตรวจเสมหะเสมหะพบเชื้อ

ล้มเหลว (Treatment After Failure)
ผูู้ป่วยที่รักษาแล้ว 4 เดือน ผลเสมหะยังคงหรือกลับเป็นบวกในเดือนที่ 5 หรือ ผูู้ป่วยวัณโรคปอด ที่มีผลเสมหะเป็นลบเมื่อขึ้นทะเบียน แต่กลับมีผลเสมหะเป็นบวกหลังการรักษา 2 เดือน

ขาดยากลับมารักษาอีก(Treatment after default)
ผูู้ป่วยซึ่งขาดการรักษาไปมากกว่า 2 เดือนติดต่อกันแล้วกลับมารักษาอีก

รับโอน (Transfer in)
ผู้ป่วยซึ่งรับโอนโดยเริ่มการรักษาและ ขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานอื่นแล้ว

อื่นๆ (Other) เช่น
- ผู้ป่วยที่เคยรักษาจากหน่วยงานเอกชน มากกว่า 4 สัปดาห์
- ผูู้ป่ วยที่แพทย์วินิจฉัยเป็นกลับเป็นซํ้า แต่ผลตรวจเสมหะเป็นลบ

รักษาหายขาด (Cured)
ผู้ป่วยเสมหะบวกตอนแรก รักษาครบมีผลเสมหะเป็นลบอย่างน้อย 2 ครั้ง และผลเสมหะเมื่อสิ้นสุดการรักษาต้องเป็นลบด้วย

รักษาครบ (Completed)
• ผู้ป่วยเสมหะบวกเมื่อเริ่มรักษารักษาครบแต่
ขาดผลเสมหะระหว่างรักษา
• ผูู้ป่วยเสมหะลบเมื่อเริ่มรักษาและรักษาครบ

ล้มเหลว (Failure)
เสมหะบวกรักษาแล้วผลเสมหะยังคงหรือกลับเป็นบวกในเดือนที่5 หรือผู้ป่วยเสมหะลบแต่กลับมีผลเสมหะเป็นบวกหลังรักษาได้2 เดือน

ขาดยา (Default)
ผู้ป่วยที่ขาดยานานเกิน 2 เดือนติดต่อกัน

ตาย (Died)
ผูู้ป่วยตายขณะที่ยังคงรักษาวัณโรค(ควรพยายามระบุถึงเหตุตายด้วย)

โอนออก (Transfer out)
ผู้ป่วยที่โอนไปรักษาที่อื่นโดยที่ไม่ทราบผลของการรักษา

แบบทดสอบ เรื่องวัณโรค

แบบทดสอบ เรื่องวัณโรค
งานชันสูตรโรค
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น

แบบทดสอบ Online คลิ๊กที่นี่

1. วัณโรค เกิดจากเชื้ออะไร
เชื้อรา
เชื้อไวรัส
เชื้อแบคทีเรีย
เชื้อโปรโตซัว




2. เชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยแพร่ติดต่อสู่คนปกติโดยวิธีใดบ้าง
โดยสัมผัสทางผิวหนัง
โดยการไอ จาม รดกัน
โดยการกินอาหารที่มีแมลงวันตอม
ถูกทุกข้อ




3. วิธีใดไม่ใช่การป้องกันโรควัณโรค
นำเด็กแรกเกิดไปฉีดวัคซีน บีซีจี
ผู้อยู่ร่วมบ้านต้องตรวจเสมหะและเอกเรย์ปอดปีละครั้ง
จัดที่อยู่อาศัยผู้ป่วยวัณโรคให้อากาศถ่ายเทสะดวกแสงแดดส่งถึง
สวมใส่เสื้อผ้ากันหนาว




4. ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการป่วยเป็นวัณโรค คือ
ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์
เลือดออกตามไรฟัน
หิวข้าวบ่อย ๆ
มีอาการจามน้ำมูกไหล




5. เมื่อป่วยเป็นวัณโรคแล้วต้องใช้ระยะเวลารักษาในการหายขาดนานเท่าใด
6 สัปดาห์
6 เดือน
6 ปี
ผิดทุกข้อ




6. ข้อห้ามในขณะป่วยเป็นวัณโรค
ห้ามหยุดยา
ห้ามรับประทานเนื้อไก่
ห้ามออกกำลังกาย
ห้ามไปหาแพทย์




7. "ดอท" (DOT) คืออะไร
การรักษาวัณโรคด้วยระบบยาแผนโบราณ
การรักษาวัณโรคด้วยระบบยาแผนปัจจุบัน
การรักษาวัณโรคด้วยยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง
ถูกทุกข้อ




8. หัวใจสำคัญของการควบคุมวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง
ความสะดวกในการมารับบริการและการยอมการรักษาของผู้ป่วย
การมีส่วนร่วมของชุมชนและญาติของผู้ป่วย
การควบคุมคุณภาพให้บริการและการรักษาผู้ป่วย
ถูกทุกข้อ




9. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคที่สำคัญมากที่สุดในช่วง การรักษา 2 เดือนแรก เราควรออกเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมออย่างไร
2 ครั้ง / เดือน
3 ครั้ง / เดือน
4 ครั้ง / เดือน
ถูกทุกข้อ




10. อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถเป็นพี่เลี้ยงผู้ป่วยวัณโรค โดยทำหน้าที่
ให้ผู้ป่วยกินยาต่อหน้าและบันทึกการกินยา
สังเกตหรือถามผู้ป่วยถึงอาการแพ้ยา
ให้คำปรึกษาทางด้านสังคม และจิตใจ
ถูกทุกข้อ