วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553
หมอชี้เชื้อวัณโรคดื้อยาอยู่ในห้องแอร์ได้เป็นวัน
หมอชี้ เชื้อวัณโรคดื้อยาอยู่ในห้องแอร์ได้เป็นวัน
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการกองทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา เปิดเผยกับรายการห้องข่าวรับอรุณ เนชั่นชาแนล เกี่ยวกับโรควัณโรคดื้อยา ซึ่งขณะนี้พบผู้ป่วยในไทยแล้ว 80 คน ว่า มีการดื้อยารุนแรง ปัญหาใหญ่ของวัณโรคดื้อยาคือเมื่อเพาะเชื้อพบก็บอกแค่วัณโรค ไม่ได้วิเคราะห์ให้ลึกลงไป ขณะนี้แล็บทั่วประเทศมีไม่เพียงพอ สำหรับยาที่ได้ผลในการรักษามีประมาณสิบกว่าชนิด แต่ถ้ารักษาไม่หายก็ต้องปรับระดับไปตามความเหมาะสม สำหรับการติดต่อนั้นติดต่อง่าย สามารถแพร่กระจายได้ในอากาศ โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เครื่องปรับอากาศนั้นเชื้อล่องลอยอยู่ได้เป็นวัน การนั่งรถประจำทางปรับอากาศก็มีอัตราเสี่ยง 4-5 แถวที่นั่งใกล้ผู้ป่วย ทั้งนี้การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อผู้ป่วยต้องปิดปากปิดจมูกขณะไอจาม รวมถึงการกินยาให้ครบถ้วน หากมีอาการแพ้ยา คลื่นไส้ ให้แจ้งแพทย์เพื่อปรับตัวยา สำหรับต่างประเทศที่มีการกักตัวผู้ป่วยนั้นมีกฎหมายรองรับ แต่ในประเทศไทยใช้ได้เพียงการขอความร่วมมือจากผู้ป่วย
ที่มา :http://www.mitthai.com/forum/viewtopic.php?f=11&t=386
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการกองทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา เปิดเผยกับรายการห้องข่าวรับอรุณ เนชั่นชาแนล เกี่ยวกับโรควัณโรคดื้อยา ซึ่งขณะนี้พบผู้ป่วยในไทยแล้ว 80 คน ว่า มีการดื้อยารุนแรง ปัญหาใหญ่ของวัณโรคดื้อยาคือเมื่อเพาะเชื้อพบก็บอกแค่วัณโรค ไม่ได้วิเคราะห์ให้ลึกลงไป ขณะนี้แล็บทั่วประเทศมีไม่เพียงพอ สำหรับยาที่ได้ผลในการรักษามีประมาณสิบกว่าชนิด แต่ถ้ารักษาไม่หายก็ต้องปรับระดับไปตามความเหมาะสม สำหรับการติดต่อนั้นติดต่อง่าย สามารถแพร่กระจายได้ในอากาศ โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้เครื่องปรับอากาศนั้นเชื้อล่องลอยอยู่ได้เป็นวัน การนั่งรถประจำทางปรับอากาศก็มีอัตราเสี่ยง 4-5 แถวที่นั่งใกล้ผู้ป่วย ทั้งนี้การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อผู้ป่วยต้องปิดปากปิดจมูกขณะไอจาม รวมถึงการกินยาให้ครบถ้วน หากมีอาการแพ้ยา คลื่นไส้ ให้แจ้งแพทย์เพื่อปรับตัวยา สำหรับต่างประเทศที่มีการกักตัวผู้ป่วยนั้นมีกฎหมายรองรับ แต่ในประเทศไทยใช้ได้เพียงการขอความร่วมมือจากผู้ป่วย
ที่มา :http://www.mitthai.com/forum/viewtopic.php?f=11&t=386
ไต้หวันประดิษฐ์อุปกรณ์ตรวจเชื้อวัณโรครู้ผลภายใน 5 นาที
ไทเป 29 มี.ค.- นักวิทยาศาสตร์ไต้หวันเปิดตัวอุปกรณ์ที่เขาอ้างว่าเป็นเครื่องมือตรวจเชื้อ แบคทีเรียวัณโรคราคาถูก ทรงประสิทธิภาพครั้งแรกของโลก สามารถรู้ผลได้ภายใน 5 นาที
ศ.ไหล ซินชี หัวหน้าคณะเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์และวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการคลินิก มหาวิทยาลัยฉางกุง เผยหลังการสัมมนาเนื่องในวันวัณโรคโลก ตรงกับวันที่ 24 มีนาคมของทุกปีว่า อุปกรณ์นี้คล้ายเครื่องมือตรวจการตั้งครรภ์ สามารถระบุจากตัวอย่างของผู้ต้องสงสัยติดเชื้อวัณโรคว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ หากใช้โดยผู้เชี่ยวชาญจะมีความแม่นยำถึงร้อยละ 98 เทียบกับอุปกรณ์ปัจจุบันมีความแม่นยำเพียงร้อยละ 50-60
ศ.ไหล อ้างว่า อุปกรณ์ของเขาแม่นยำสูงเพราะตรวจหากรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของ วัณโรค ขณะที่อุปกรณ์ปัจจุบันตรวจหาแอนติบอดี้ซึ่งเป็นสารโปรตีนจำเพาะที่ร่างกาย สร้างขึ้นต่อต้านเชื้อวัณโรค การตรวจในห้องทดลองของโรงพยาบาลกินเวลานานถึง 8 สัปดาห์กว่าจะทราบผล แต่อุปกรณ์ของเขาใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที และมีต้นทุนการผลิตชุดละ 50 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 51 บาท) เทียบแล้วถูกกว่าการตรวจแบบปัจจุบัน ศ.ไหล เผยว่า ได้จดสิทธิบัตรในไต้หวันแล้วและกำลังขอจดสิทธิบัตรในสหรัฐ
ที่มา : http://politics.spiceday.com/redirect.php?tid=155007&goto=lastpost&sid=oZqlHX
ศ.ไหล ซินชี หัวหน้าคณะเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์และวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการคลินิก มหาวิทยาลัยฉางกุง เผยหลังการสัมมนาเนื่องในวันวัณโรคโลก ตรงกับวันที่ 24 มีนาคมของทุกปีว่า อุปกรณ์นี้คล้ายเครื่องมือตรวจการตั้งครรภ์ สามารถระบุจากตัวอย่างของผู้ต้องสงสัยติดเชื้อวัณโรคว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ หากใช้โดยผู้เชี่ยวชาญจะมีความแม่นยำถึงร้อยละ 98 เทียบกับอุปกรณ์ปัจจุบันมีความแม่นยำเพียงร้อยละ 50-60
ศ.ไหล อ้างว่า อุปกรณ์ของเขาแม่นยำสูงเพราะตรวจหากรดนิวคลีอิกซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของ วัณโรค ขณะที่อุปกรณ์ปัจจุบันตรวจหาแอนติบอดี้ซึ่งเป็นสารโปรตีนจำเพาะที่ร่างกาย สร้างขึ้นต่อต้านเชื้อวัณโรค การตรวจในห้องทดลองของโรงพยาบาลกินเวลานานถึง 8 สัปดาห์กว่าจะทราบผล แต่อุปกรณ์ของเขาใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที และมีต้นทุนการผลิตชุดละ 50 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 51 บาท) เทียบแล้วถูกกว่าการตรวจแบบปัจจุบัน ศ.ไหล เผยว่า ได้จดสิทธิบัตรในไต้หวันแล้วและกำลังขอจดสิทธิบัตรในสหรัฐ
ที่มา : http://politics.spiceday.com/redirect.php?tid=155007&goto=lastpost&sid=oZqlHX
กระบวนการเพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรค งานชันสูตรโรค สคร6.ขอนแก่น
วันนี้ขอนำขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเชื้อวัณโรคของงานวัณโรค สคร6.ขอนแก่น มานำเสนอแก่ผู้อ่านทุกท่านเพื่อจะได้เข้าใจกระบวนการต่างๆที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งบางขั้นตอนก็ปฏิบัติอยู่ บางขั้นกำลังจะเริ่มปฏิบัติในเร็วๆนี้
แผนภูมิแนวทางเวชปฏิบัติเรื่องวัณโรค
แผนภูมิที่ 1. การดูแลรักษาผู้ป่วยโรควัณโรค
แผนภูมิที่ 2. การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคขาดยา
แผนภูมิที่ 3. การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนต่อตับในผู้ป่วยวัณโรค
ที่มา
http://www.doctor.or.th/node/7403
เอกสารแนะนำอ่านเพิ่มเติม
1. สมาคมปราบวัณโรคฯ, กรมควบคุมโรคติดต่อ, และสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงครั้ง ที่ 2), กรุงเทพฯ 2543.
2. World Health Organization. Treatment of tuberculosis : guidelines for national programmes, second edition, 2003.
3. American Thoracic Society/Centers for Disease Control and Prevention/Infectious Diseases Society of America. Treatment of tuberculosis. Am J Respir Crit Care Med 2003;167:603-62.
แผนภูมิที่ 2. การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคขาดยา
แผนภูมิที่ 3. การดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนต่อตับในผู้ป่วยวัณโรค
ที่มา
http://www.doctor.or.th/node/7403
เอกสารแนะนำอ่านเพิ่มเติม
1. สมาคมปราบวัณโรคฯ, กรมควบคุมโรคติดต่อ, และสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงครั้ง ที่ 2), กรุงเทพฯ 2543.
2. World Health Organization. Treatment of tuberculosis : guidelines for national programmes, second edition, 2003.
3. American Thoracic Society/Centers for Disease Control and Prevention/Infectious Diseases Society of America. Treatment of tuberculosis. Am J Respir Crit Care Med 2003;167:603-62.
สธ.ปรับแนวทางปราบวัณโรคใช้ยาเม็ดรวมหลายขนานรักษา ลดลืมกินยา โอกาสหายขาดสูง
สธ. เผยขณะนี้ไทยยังติด 1 ใน 22 ประเทศในโลกที่มีวัณโรคชุก มีผู้ป่วย 120,000 คน ร้อยละ 16 ติดเชื้อเอชไอวีด้วย มีผู้ป่วยกว่า 4 หมื่นคนสามารถแพร่เชื้อติดคนอื่นได้ เร่งปรับแนวทางแก้ไขปัญหา ดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ และใช้ยารักษาวัณโรคชนิดเม็ดรวมหลายขนาน กินง่าย โอกาสหายขาดสูง ลดปัญหาขาดยาและเชื้อดื้อยา โดยในปีนี้องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนยาน้ำรักษาวัณโรคในเด็กกว่า 3 ล้านบาท ตั้งเป้าเพิ่มอัตราผู้ป่วยกินยารักษาครบสูตรและหายขาดให้ได้เท่ากับเกณฑ์สากลคือร้อยละ 85
วันนี้ (7 กรกฎาคม 2553) เวลา 09.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการวัณโรคและโรคระบบการหายใจระดับชาติ ครั้งที่ 8 เรื่อง “การควบคุมวัณโรคในประเทศไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 75 ปี สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านวัณโรคในกทม.และต่างจังหวัด โรงพยาบาลเอกชน คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเพิ่มพูนความรู้เป็นเครือข่ายในการป้องกันและรักษาวัณโรค
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก ได้จัดให้ไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาการควบคุมวัณโรค โดยไทยมีผู้ป่วยวัณโรคประมาณ 120,000 คน ร้อยละ 90 เป็นผู้ป่วยใหม่ที่สามารถแพร่เชื้อติดคนอื่นได้ 44,000 คน เสียชีวิตปีละประมาณ 13,000 คน และพบผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาหลายขนานประมาณ 2,800 คนหรือร้อยละ 1.7 ปัญหาหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาควบคุมวัณโรค เกิดเนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ซึ่งพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 16 ติดเชื้อวัณโรคด้วย และอัตราการได้รับรักษาด้วยยาวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือนของผู้ป่วยครบตามสูตร ซึ่งจะทำให้หายขาดมีความครอบคลุมเพียงร้อยละ 83 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 นอกจากนี้ยังมีปัญหามีแรงงานต่างด้าวที่ติดเชื้อวัณโรคเข้ามาในประเทศจำนวนมาก ทำให้การควบคุมยุ่งยากขึ้น
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับแนวทางควบคุมโรควัณโรค โดยดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลในสังกัดอื่นๆ และสมาคมปราบวัณโรค ร่วมค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อให้การรักษาหายขาด มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น โดยใช้ยาเม็ดชนิดรวมหลายขนานทั้งในใหญ่และเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกินยาง่าย ลดปัญหาลืมกินยาและขาดยาได้ ในปีนี้องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนยาน้ำรักษาในเด็กซึ่งยังไม่มีการผลิตในประเทศไทยมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ใช้รักษาเด็กด้วย นอกจากนี้จะร่วมมือกับนานาชาติศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนายา วัคซีนและเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันมากยิ่งขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการรักษาครบสูตร ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 85 จะทำให้การควบคุมวัณโรคมีโอกาสประสบผลสำเร็จสูง ปัญหาอื่นๆเช่น การขาดยา เชื้อดื้อยา และการเสียชีวิตของผู้ป่วยจะลดลง ซึ่งจะสามารถลบชื่อประเทศไทยออกจากบัญชีพื้นที่วัณโรคชุกได้สำเร็จ
ทั้งนี้ ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดให้ทุกจังหวัดค้นหาผู้ที่เสี่ยงป่วยวัณโรคสูงเช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เป็นต้น ทำให้สามารถค้นหาได้มากขึ้นถึงร้อยละ 74 ขณะนี้มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนเกือบร้อยละ 90
ที่มา: ผู้จัดการ
วันนี้ (7 กรกฎาคม 2553) เวลา 09.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการวัณโรคและโรคระบบการหายใจระดับชาติ ครั้งที่ 8 เรื่อง “การควบคุมวัณโรคในประเทศไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 75 ปี สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านวัณโรคในกทม.และต่างจังหวัด โรงพยาบาลเอกชน คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเพิ่มพูนความรู้เป็นเครือข่ายในการป้องกันและรักษาวัณโรค
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก ได้จัดให้ไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาการควบคุมวัณโรค โดยไทยมีผู้ป่วยวัณโรคประมาณ 120,000 คน ร้อยละ 90 เป็นผู้ป่วยใหม่ที่สามารถแพร่เชื้อติดคนอื่นได้ 44,000 คน เสียชีวิตปีละประมาณ 13,000 คน และพบผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาหลายขนานประมาณ 2,800 คนหรือร้อยละ 1.7 ปัญหาหลักที่ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาควบคุมวัณโรค เกิดเนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี ซึ่งพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 16 ติดเชื้อวัณโรคด้วย และอัตราการได้รับรักษาด้วยยาวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือนของผู้ป่วยครบตามสูตร ซึ่งจะทำให้หายขาดมีความครอบคลุมเพียงร้อยละ 83 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 นอกจากนี้ยังมีปัญหามีแรงงานต่างด้าวที่ติดเชื้อวัณโรคเข้ามาในประเทศจำนวนมาก ทำให้การควบคุมยุ่งยากขึ้น
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับแนวทางควบคุมโรควัณโรค โดยดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลในสังกัดอื่นๆ และสมาคมปราบวัณโรค ร่วมค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อให้การรักษาหายขาด มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น โดยใช้ยาเม็ดชนิดรวมหลายขนานทั้งในใหญ่และเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกินยาง่าย ลดปัญหาลืมกินยาและขาดยาได้ ในปีนี้องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนยาน้ำรักษาในเด็กซึ่งยังไม่มีการผลิตในประเทศไทยมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ใช้รักษาเด็กด้วย นอกจากนี้จะร่วมมือกับนานาชาติศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนายา วัคซีนและเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันมากยิ่งขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการรักษาครบสูตร ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 85 จะทำให้การควบคุมวัณโรคมีโอกาสประสบผลสำเร็จสูง ปัญหาอื่นๆเช่น การขาดยา เชื้อดื้อยา และการเสียชีวิตของผู้ป่วยจะลดลง ซึ่งจะสามารถลบชื่อประเทศไทยออกจากบัญชีพื้นที่วัณโรคชุกได้สำเร็จ
ทั้งนี้ ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดให้ทุกจังหวัดค้นหาผู้ที่เสี่ยงป่วยวัณโรคสูงเช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เป็นต้น ทำให้สามารถค้นหาได้มากขึ้นถึงร้อยละ 74 ขณะนี้มีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนเกือบร้อยละ 90
ที่มา: ผู้จัดการ
วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ตรวจวัณโรคอย่างง่ายโดยใช้ LAMP test
www.dmsc.moph.go.th
"วัณโรค" โรคติดต่อร้ายแรง หากรู้ช้า โรคลุกลาม ถึงชีวิต!
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้พัฒนา วิธีตรวจวัณโรคแบบเร็วหรือ LAMP test
เป็นการตรวจเสมหะ โดยตรง ให้ผลถูกต้อง รวดเร็ว จากที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์
ลดเหลือเพียง 2 ชั่วโมง มีความไวและความจำเพาะสูง โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือซับซ้อนอื่นที่มีราคาแพง
เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโรค เหมาะสมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อ่านผลตรวจง่าย
เพียงสังเกตสีด้วยตาเปล่า หรือตรวจการเรืองแสงภายใต้ UV
ด้วยต้นทุนที่ประหยัด เพียง 200 บาท แต่สามารถช่วยให้ค้นพบผู้ป่วยได้มากขึ้น
และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที มิให้เป็นผู้แพร่เชื้อต่อไป
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ห่วงใย เตือนภัย สุขภาพ โทรศัพท์ 0-2591-1707
"วัณโรค" โรคติดต่อร้ายแรง หากรู้ช้า โรคลุกลาม ถึงชีวิต!
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้พัฒนา วิธีตรวจวัณโรคแบบเร็วหรือ LAMP test
เป็นการตรวจเสมหะ โดยตรง ให้ผลถูกต้อง รวดเร็ว จากที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์
ลดเหลือเพียง 2 ชั่วโมง มีความไวและความจำเพาะสูง โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือซับซ้อนอื่นที่มีราคาแพง
เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโรค เหมาะสมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อ่านผลตรวจง่าย
เพียงสังเกตสีด้วยตาเปล่า หรือตรวจการเรืองแสงภายใต้ UV
ด้วยต้นทุนที่ประหยัด เพียง 200 บาท แต่สามารถช่วยให้ค้นพบผู้ป่วยได้มากขึ้น
และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที มิให้เป็นผู้แพร่เชื้อต่อไป
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ห่วงใย เตือนภัย สุขภาพ โทรศัพท์ 0-2591-1707
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)